ถุงเก็บน้ำนมแม่เพียว มาพร้อมซิปล็อค 2 ชั้น ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำรั่วซึม มั่นใจในความปลอดภัย ถุงเก็บน้ำนมที่ผ่านกระบวนการสเตอริไรซ์ เพื่อรักษาคุณค่าน้ำนมแม่ให้สด สะอาด และใหม่อยู่เสมอ- ปราศจากสาร BPA จึงมั่นใจได้ในความปลอดภัยต่อลูกน้อย
- ซิปล็อคสองชั้น ป้องกันการรั่วซึม
- ถุงผ่านกระบวนการสเตอร์ริไลซ์
- สามารถบันทึกเวลา วันที่ ปริมาณออนซ์ และชื่อลงบนถุงเก็บน้ำนมได้
- สามารถเก็บน้ำนมในช่องแช่เย็นหรือช่องแช่แข็ง
วิธีการใช้งาน
- ปั้มนม
- ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ก่อนการบรรจุน้ำนมลงในถุงเก็บ
- บันทึกเวลา วันที่และชื่อลงบนถุงเก็บน้ำนม
- เปิดถุงเก็บน้ำนมและรินน้ำนมที่ปั้มแล้วใส่ในถุง
- ก่อนปิดปากถุง ควรบีบถุงเพื่อไล่อากาศออกให้มากที่สุด เพื่อคงความสดใหม่ของน้ำนม
- นำถุงเก็บน้ำนมแช่ไว้ในช่องแช่เย็น (กรณีต้องการใช้งานภายใน 24 ชั่วโมง)
- นำถุงเก็บน้ำนมแช่ไว้ในช่องแช่แข็ง (กรณีต้องการใช้งานหลังจากปั้มนม 2 วัน)
- น้ำนมแม่ที่แช่แข็ง สามารถเก็บได้นานถึง 6 เดือน
วิธีละลายน้ำนม
- ไม่ควรละลายน้ำนมในไมโครเวฟ หรือในน้ำร้อน
- ควรละลายน้ำนมแช่แข็งในช่องแช่เย็นในตู้เย็นข้ามคืนไว้ล่วงหน้า หากต้องการละลายน้ำนมแช่แข็งให้เร็วขึ้น สามารถแช่ในน้ำอุ่นได้
- หากน้ำนมที่แช่แข็งแยกสีเป็นสองชั้น หลังจากละลายแล้ว ให้เขย่าถุงเบาๆ ให้น้ำนมรวมตัวกัน
- น้ำนมที่ละลายแล้ว สามารถเก็บไว้ในตู้เย็น 24 ชั่วโมง
- เมื่อละลายน้ำนมพร้อมใช้แล้ว ใช้กรรไกรที่สะอาดตัดมุมถุง และเทลงในขวดนมที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื่อแล้ว
- ควรเช็คอุณหภูมิของนมก่อนให้เด็กทาน และน้ำนมที่ทานไม่หมด ควรทิ้งไม่ควรนำกลับไปแช่ใหม่
วิธีการเก็บรักษา
- เติมน้ำนมลงในถุง
- เก็บถุงที่บรรจุน้ำนมในตู้เย็น หรือตู้เช่แข็ง
- เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ควรวางถุงตั้งขึ้นจนกระทั่งน้ำนมแข็งตัว
- ควรบรรจุถุงเก็บน้ำนมในภาชนะพลาสติก เพื่อป้องกันการกระแทกจากของอื่นๆในตู้แช่แข็ง
- เนื่องจากน้ำนมจะขยายตัวเมื่อแข็งตัว หากต้องการแช่แข็งน้ำนม ไม่ควรเติมน้ำนมมากกว่า 7 ออนซ์/ 200 มล.
- ควรเก็บน้ำนมให้พอดีกับปริมาณความต้องการใน 1 มื้อ
ข้อแนะนำ
- ห้ามเติมน้ำนมใหม่รวมกับน้ำนมเก่า หรือน้ำนมใหม่รวมกับน้ำนมที่แช่แข็งแล้ว
- หากต้องการแช่แข็งน้ำนม ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้นมแม่อยู่ในอุณหภูมิห้อง เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
ข้อแนะนำสำหรับการเก็บรักษาน้ำนมในช่องแช่แข็ง และการละลายน้ำนมที่ผ่านการแช่แข็ง
- ห้ามเติมน้ำนมในขวดหรือถุงเก็บน้ำนมจนเต็ม เพราะอาจเกิดการขยายตัวของอากาศในภาชนะที่บรรจุ
- เขียนข้างขวด/ถุงว่าปั๊มนมวันที่เท่าไหร่
- หากต้องการเก็บน้ำนมในตู้เย็น แนะนำให้เก็บไว้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิเย็นที่สุด หลีกเลี่ยงการเก็บน้ำนมไว้บริเวณประตูตู้เย็น เพราะมีอุณหภูมิไม่คงที่ ซึ่งทำให้อายุของน้ำนมสั้นลง
- ละลายน้ำนมแช่แข็งในช่องแช่เย็นไว้ล่วงหน้า 1 คืน หรือ แช่ขวด/ถุงเก็บน้ำนมในน้ำอุ่น อุณหภูมิ 37 องศา เพื่อละลายน้ำนม
- เขย่าขวดนมหรือถุงนม เบาๆเพื่อให้ไขมันกับน้ำนมผสมเข้ากัน
- ห้ามละลายน้ำนมแช่แข็งในไมโครเวฟ หรือเตาอบ หรือหม้อต้ม